สรุปหลักการ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ (ตอนที่ 1)
สรุปหลักการพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ตอนที่ 1)
https://www.youtube.com/watch?v=88GotUNG894
ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร
นิยามของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย ตามนิยามของพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 นั้นได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรา 6 ว่าหมายถึง ข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ไม่รวมคนตาย เช่น ภาพถ่าย เลขบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด ลายนิ้มมือ ม่านตา ฯลฯ
โดยข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้ทางตรง คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวเจ้าของข้อมูลได้ทันที เช่น ชื่อ สกุล อายุ เลขบัตรประชาชนสิบสามหลัก...
ปัจจัยและเหตุผลที่ทำให้ผู้ใช้เฟสบุครวมถึงสื่อโซเชียลมีเดียอื่นตกเป็นจำเลยในคดีอาญา
ปัจจัยและเหตุผลที่ทำให้ผู้ใช้เฟสบุครวมถึงสื่อโซเชียลมีเดียอื่นตกเป็นจำเลยในคดีอาญา
ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารนั้นสะดวกรวดเร็วกว่าเดิมมาก การใช้มือถือ Smartphone Tablet รวมถึงอุปกรณ์อื่นทำให้การติดต่อสื่อสารมีค่าใช้จ่ายน้อยลง สามารถส่งหรือพิมพ์ข้อความได้เป็นจำนวนมากและสะดวกรวดเร็วมากขึ้นแค่ไม่กี่อึดใจ แตกต่างกับสมัยก่อนซึ่งการส่งข้อความ อาทิ sms จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและจำกัดจำนวนของข้อความ ทำให้ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารทางข้อความรวมถึง ใน platform รูปแบบอื่นเช่น วีดีโอ หรือ ไลฟ์สด ได้รับความนิยมมากขึ้นและจากความเคยชินดังกล่าว ทำให้ผู้ใช้สื่อโซเชียลมีเดียจำนวน มีความพลั้งเผลอหรือมีอารมณ์ชั่ววูบ ทำให้ต้อง ถูกฟ้องและตกอยู่ในสถานะจำเลยในคดีอาญาโดยไม่ได้ตั้งใจ ผู้เขียนจึงรวบรวม สาเหตุ...
ทางออกของเจ้าหนี้และลูกหนี้ ในวิกฤติโควิค – 19
ทางออกของเจ้าหนี้และลูกหนี้ ในวิกฤติโควิค - 19
การชำระหนี้ถือว่าเป็นการพ้นวิสัยหรือไม่ มีคำตอบ
https://youtu.be/2sDjdzum8Uk
เอกสารประกอบเพิ่มเติม (คลิก)
สิทธินายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายแรงในวิกฤตโควิด19
#สิทธินายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายแรงในวิกฤตโควิด19
https://www.youtube.com/watch?v=qywMtAVCjH8&feature=youtu.be
หรือติดตามชมได้ทาง #YouTube >>> https://youtu.be/qywMtAVCjH8
หมายเหตุ: มติครม.เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 63 ปรับเปลี่ยนให้ลูกจ้างได้รับเงินประโยชน์ทดแทน 62% จากการที่กิจการที่รัฐสั่งปิด หรือ นายจ้างหยุดเองเพราะเหตุสุดวิสัยครับ(จากเดิม50% เพิ่มมาเป็น 62% ครับ) เนื่องจาก มีประเด็นที่ว่า คนที่ได้รับ 5,000 3 เดือนนั้น ที่อยู่นอกประกันสังคม อาจจะได้รับเงินมากกว่าคนที่อยู่ในประกันสังคม จึงเห็นควรให้เพิ่มเป็น 62%...
#วิเคราะห์ฎีกาใหม่ “ฎีกาที่ 5674/2562”
#วิเคราะห์ฎีกาใหม่
#ฎีกาที่ 5674/2562
#หนังสือมอบอํานาจติดอากรแสตมป์แต่ไม่ขีดฆ่าก็สามารถเป็นการมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายได้
คำพิพากษาฎีกานี้มีประเด็นโต้แย้งขึ้นสู่ศาลสูง ในประเด็นหนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์แต่ไม่ได้ขีดฆ่า ถือว่าหนังสือมอบอำนาจชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
โดยหลักหนังสือมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นจะต้องดำเนินการ ปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าเสมอ โดยมีเจตนารมณ์มิให้นำอากรแสตมป์มาใช้ซ้ำอีก
แต่ในฎีกานี้มีประเด็นที่ศาลสูงได้วิเคราะห์ไว้น่าสนใจ กล่าวคือ ในคดีนี้ฝ่ายที่กล่าวอ้างว่าหนังสือมอบอำนาจ ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น(ผู้ร้อง) มิได้โต้แย้งบอกเหตุผลว่าหนังสือมอบอำนาจ ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร และนอกจากนี้ในขณะสืบพยานผู้ร้อง ได้ตอบคำถามค้านจากทนายความผู้คัดค้านว่า "การมอบอำนาจของ ผู้คัดค้านถูกต้องแล้วตามเอกสารหมาย ค.1 - ค.2"
จึงถือได้ว่าไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าการมอบอำนาจของผู้คัดค้านที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และศาลได้วินิจฉัยต่อไปว่า แม้หนังสือมอบอำนาจนั้นจะไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ก็ตาม ไม่มีกรณีต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ที่ห้ามมิให้รับฟังตราสารที่ไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์เป็นพยานหลักฐานแต่อย่างใด
จึงถือว่าข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่คู่ความรับกันแล้วว่า...
#โจทก์จ่ายเงินวิ่งเต้นคดีถือว่ามีอำนาจฟ้องหรือไม่ (ฎ.1666/2562)
#โจทก์จ่ายเงินวิ่งเต้นคดีถือว่ามีอำนาจฟ้องหรือไม่
#วิเคราะห์ฎีกาใหม่ (ฎ.1666/2562)
กรณีการกระทำความผิดอาญาในข้อหาและสินบนแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 143 ถ้ามองแบบผิวเผินอาจจะเห็นว่า โจทก์หรือผู้เสียหายไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย เนื่องจากเป็นการมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด กล่าวคือมีส่วนร่วมในการนำเงินนั้นไปกระทำความผิดหรือวิ่งเต้นคดี ตามที่เคยมีคำวินิจฉัยของศาลสูงหลายคดีเคยวินิจฉัยเอาไว้
แต่มีข้อสังเกตในคำพิพากษาฎีกานี้กล่าวคือ หากกรณีที่โจทก์หรือผู้เสียหายนั้น มิได้มีเจตนาตั้งแต่แรกในการวิ่งเต้นคดี ...
โดยในข้อเท็จจริง ตามคำพิพากษาฉบับยาวท่อนหนึ่งได้มีรายละเอียดที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยนั้นได้ไปหาโจทก์ (ซึ่งเป็นภรรยาของผู้ต้องขังในคดีหนึ่ง) ที่บ้าน 2-3 ครั้งและอ้างว่าจะช่วยโจทก์ให้สามารถทูลเกล้าถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษแก่สามีของโจทก์ ที่ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตได้
โดยศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่เห็นว่า กรณีดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาตั้งแต่แรกที่จะวิ่งเต้นคดีให้สามีโจทก์ได้รับพระราชทานอภัยโทษ แต่โจทก์ก็ทำไปเพราะถูกจำเลยหลอกลวง ถึงไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด
โจทก์(หรือผู้เสียหาย) #จึงถือว่าเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยสามารถนำคดีมาฟ้องได้ ทั้งนี้ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2562
คำพิพากษาฎีกานี้จึงเป็นอีกกรณีหนึ่งที่น่าสนใจและเป็นการอุดช่องว่างในทางปฎิบัติให้...
ประเด็นน่าสนใจจากกรณี “ค้ำประกันรถ จยย.จนถูกยึดบ้าน”
จากกรณีคุณรายหนึ่งป้าไปเซ็นต์ค้ำประกันรถมอไซด์ให้กับเพื่อนจนตนเองถูกยึดบ้าน ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่น่านำมาออกข้อสอบทนายความภาคทฤษฎีรุ่น 53 มาก เนื่องจากมีมิติที่เกี่ยวข้องในการออกข้อสอบหลายประเด็นเช่น
การทำหนังสือบอกกล่าวทวงถามถึงลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน
คำฟ้องคดีแพ่งโดยฟ้องผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน
การทำหนังสือมอบอำนาจ โดยจำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปศาล
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความ(ในศาล)
การทำคำร้องขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณีจำเลยทั้ง 2 ผิดนัดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คดีอาญาไม่ว่าจะเป็นโกงเจ้าหนี้ หรือข้อหาอื่นที่สามารถผูกข้อเท็จจริงได้
ข้อมรรยาททนายความกรณีทนายความดำเนินการ บังคับคดีตามขั้นตอน ( คณะกรรมการผู้ออกข้อสอบปรับเปลี่ยนข้อเท็จจริงให้มากกว่าที่ปรากฎในข่าว)
อีกทั้งข้อสอบอาจออกในส่วนของคำร้อง...
คดีเช่าซื้อ ฟ้องเรียกค่าส่วนต่างฯ ที่ศาลพิพากษาให้ชำระเพียงหลักพัน!!
เคสนี้ผู้เช่าซื้อถูกหลอกว่าถ้าไม่ผ่อนให้เอารถมาคืนถือว่าจบกัน ปรากฎว่าคืนแล้วยังถูกฟ้องเป็นคดีนี้
คดีเช่าซื้อ ฟ้องเรียกค่าส่วนต่างจากการประมูลผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันเอาแนวตามคำพิพากษานี้ไปใช้ได้เลยครับ ธนาคารฟ้องค่าส่วนต่างและค่าขาดประโยชน์มาจำนวน 4 แสนเศษ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ชำระเพียงหลักพัน !!
โดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคำพิพากษาศาลชั้นต้น ในหน้าที่ 6 ใจความสำคัญว่า กรณีผู้เช่าซื้อได้ส่งมอบคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อและโจทก์(ธนาคาร)รับไว้โดยไม่โต้แย้ง ถือว่าสมัครใจเลิกสัญญา มิใช่เพราะเหตุคู่สัญญาเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือตามกฎหมาย (มิใช่เหตุผู้เช่าซื้อผิดสัญญา) โจทก์(ธนาคาร) จึงจะฟ้องเรียกค่าขาดราคาไม่ได้เพราะสัญญาเช่าซื้อระงับไปแล้ว ตาม ปพพ.573
ส่วนค่าขาดประโยชน์ก่อนคืนรถมีเพียง 1 เดือน ศาลลดให้เหลือ 7,800 บาท...
ข่าวดี!!! คณะนิติศาสตร์ ศรีปทุมฯ ร่วมกับ LEPA จัดอบรม “เทคนิคการดำเนินคดีที่ดิน”
ข่าวดี!!! โครงการอบรม "เทคนิคการดำเนินคดีที่ดิน" ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทนายความหรือนักกฎหมายที่ทำงานด้านนี้
รายละเอียดด้านล่าง
เทคนิคการร่างฟ้องคดีหมิ่นประมาท
#การร่างฟ้องหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา กรณีที่ผู้โพสต์ข้อความ เลี่ยงโพสต์ข้อความในลักษณะที่ขาดองค์ประกอบความผิดแต่ทำการโพสในหลายครั้งจะดำเนินการร่างฟ้องอย่างไร
วันก่อนได้มีโอกาสได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นศาล ฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์กรณีหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ซึ่งมีประเด็น ข้อกฎหมายน่าสนใจคือ คดีดังกล่าวลักษณะการโพสต์ของจำเลยนั้น แบ่งแยกเป็นการโพสต์หลายครั้ง โดยแต่ละครั้งจะเป็นการโพสต์ที่ขาดองค์ประกอบความผิดเช่น
การโพสครั้งที่ 1 ถ้อยคำเข้าองค์ประกอบลักษณะการหมิ่นประมาทแต่มิได้ระบุยืนยันตัวตนของผู้เสียหายหรือโจทก์
การโพสต์ครั้งที่ 2 ไม่มีถ้อยคำในลักษณะที่เป็นการ หมิ่นประมาทโดยการโฆษณาแต่เป็นการโพสพาดพิงถึงหรือระบุถึงผู้เสียหายหรือโจทก์
การโพสต์ครั้งที่ 3 เป็นการโพสต์ย้ำในถ้อยคำที่มีลักษณะเป็นประมาทแต่ไม่ได้มีการระบุถึงผู้เสียหายหรือโจทก์
ซึ่งเบื้องต้น ในศาลชั้นต้นพิจารณาในการโพสต์ในแต่ละครั้งแล้วไม่ครบองค์ประกอบความผิดจึงคำสั่งไม่ประทับรับฟ้อง ต่อมาโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์ โดยอุทธรณ์ในลักษณะ ให้ศาลเห็นว่าการโพสต์ทั้ง 3 ครั้ง ดังกล่าวของจำเลยนั้นเป็นการโพสต์ต่อเนื่องการและเกี่ยวเนื่องกัน หากศาลได้พิจารณาภาพรวมของการโพสต์ของจำเลยทั้งสามครั้งแล้วจะสามารถ...